วันพฤหัสบดีที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2556

นางสาวสุวิมล วุฒิยาสาร


นางสาวสุวิมล    วุฒิยาสาร

แบบทดสอบ บทที่ 7 การประยุกต์ใช้คอมพิวเตอร์

ตอนที่1






1.การประยุกต์ใช้คอมพิวเตอร์ในงานหลายๆด้าน ยกตัวอย่างมา3ตัวอย่าง อธิบายแต่ละด้านนำไปป
ระยุกต์ใช้งานอย่างไรบ้าง



ตอบ       ประยุกต์ใช้ในงานด้านการศึกษาเทคโนโลยีสารสนเทศที่นำมาใช้สำหรับการเรียนการสอน เป็นการใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่หลายอย่าง สอนด้วยสื่ออุปกรณ์ที่ทันสมัย ห้องเรียนสมัยใหม่ มีอุปกรณ์วิดีโอโปรเจคเตอร์ (Video Projector)มีเครื่องคอมพิวเตอร์ มีระบบการอ่านข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์แบบต่าง ๆ รูปแบบของสื่อที่นำมาใช้ในด้านการเรียนการสอน ก็มีหลากหลาย ขึ้นอยู่กับความเหมาะสมในการนำมาใช้ เช่น คอมพิวเตอร์ช่วยสอน อิเล็กทรอนิกส์บุค วิดีโอเทเลคอนเฟอเรนซ์ ระบบวิดีโอออนดีมานด์ การสืบค้นข้อมูลในคอมพิวเตอร์ และระบบอินเทอร์เน็ต เป็นต้น




ประยุกต์ใช้ในงานด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี          กลุ่มนักวิทยาสตร์ วิศวกรที่ต้องการศึกษาพฤติกรรมบางอย่างของสิ่งมีชีวต รวมถึงสิ่งแวดล้อมต่างๆ เช่นศึกษาการกระจายถิ่นที่อยู่ของนก การกระจายของแบคทีเรีย การสร้างอาณาจักรของมด ผึ้ง ชีวิตความเป็นอยู่ของสัตว์ป่าต่าง ๆ การพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน ตลอดจนระบบนิเวศวิทยา ความสนใจในการจำลองความเป็นอยู่ของ สิ่งมีชีวิตได้มีมานานแล้ว เริ่มตั้งแต่ครั้ง จอห์น พอยเมน ผู้เป็นนักคณิตศาสตร์ เสนอแนวคิดการทำให้เครื่องจักรทำงานโดยอัตโนมัติภายใต้โปรแกรม ซึ่งเป็นรากฐานของเครื่องคอมพิวเตอร์ จนถึงปัจจุบันเกมแห่งชีวิตจึงเกิดขึ้น

ประยุกต์ใช้ในงานด้านการสื่อสารและโทรคมนาคม 
         เทคโนโลยีของการสื่อสารและโทรคมนาคมในปัจจุบันก้าวไกลไปมาก มีบริการมากมายที่ทันสมัยและตอบรับกับการนำมาประยุกต์ใช้ในการดำเนินธุรกิจ ตัวอย่างการใช้โทรศัพท์ในปัจจุบันนี้ก็มิไดมีไว้เพียงสำหรับคุยสนทนาเพียงอย่างเดียวอีกต่อไป แต่มันสามารถช่วยงานได้มากขึ้น โดยอ้างอิงข้อมูลและการเปิดให้บริการของบริษัท มีติดต่อสื่อสารผ่านดาวเทียมทั้งภาพและเสียง มีโทรศัพท์มือถือรุ่นต่าง ๆ ออกมามากมาย พัฒนาทั้งหน่วยงานของภาครัฐและเอกชน เช่นเทเลคอม เอเชีย คอร์ปอร์เรชั่น จำกัด (มหาชน) ซึ่งเป็นผู้วางแผนการก่อสร้าง และติดตั้งขยายบริการโทรศัพท์พื้นฐาน 2.6 ล้านเลขหมาย ครอบคลุมพื้นที่ในเขตกรุงเทพและปริมณฑล รวมถึงการซ่อมบำรุงรักษาเป็นระยะเวลา 25 ปี และเป็นหนึ่งในผู้ให้บริการในปัจจุบัน
  
2.ระบบงานพื้นฐานที่ใช้ในงานธุรกิจมีงานใดบ้าง  แต่ละระบบมีหน้าที่อย่างไร

ตอบ  1. ระบบสั่งซื้อ ทำหน้าจัดซื้อสินค้า วัตถุดิบ พัสดุ ครุภัณฑ์ เมื่อได้รับแจ้ง
2. ระบบการขาย ใบสั่งซื้อที่ได้รับจากลูกค้าจะถูกบันทึกและตรวจสอบด้วยระบบคอมพิวเตอร์อย่าง รวดเร็ว
3. ระบบการบัญชี การใช้ระบบการบัญชีคอมพิวเตอร์ ทำให้การลงบัญชีทำได้เร็วขึ้น
4.ระบบการเงิน เป็นระบบจัดการเกี่ยวกับการรับและจ่าย เช่น การจ่ายเงินเดือน
5.ระบบการผลิต มีการนำคอมพิวเตอร์มาใช้ควบคุมการผลิตแต่ละขั้นตอนช่วยให้การผลิตมีมาตรฐาน
6.ระบบสินค้าคงคลัง เป็นการนำคอมพิวเตอร์มาใช้ควบคุมสินค้าคงคลัง

 

4.ไมโครคอมพิวเตอร์เหมาะสมกับธุรกิจขนาดใด  เพราะเหตุใด

ตอบ        เหมาะกับธุรกิจขนาดเล็ก       เพราะ  ไมโครคอมพิวเตอร์เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีขนาดเล็ก บางคนเห็นว่าเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้งานส่วนบุคคล หรือเรียกว่า พีซี (Personal Computer : PC) สามารถใช้เป็นเครื่องต่อเชื่อมในเครือข่าย หรือใช้เป็นเครื่องปลายทาง (terminal) ซึ่งอาจจะทำหน้าที่เป็นเพียงอุปกรณ์รับและแสดงผลสำหรับป้อนข้อมูลและดูผลลัพธ์ โดยดำเนินการการประมวลผลบนเครื่องอื่นในเครือข่าย

6.สิ่งทิ่งที่ต้องคำนึงถึงเป็นหลักในการเลือกซื้อคอมพิวเตอร์มีอะไรบ้าง

ตอบ    1. งบประมาณในการจัดซื้อ
            2. ประเภทของงานที่นำคอมพิวเตอร์มาใช้
            3  สมรรถนะของเครื่อง
            4. ความสามารถในการ Upgrade ในอนาคต
            5. รุ่นและความเร็วในการประมวลผลของ CPU
            6 . ชนิดและขนาดของหน่วยความจำ RAM
            7. ขนาดของหน่วยความจำแคช (Cache Lever 2)
            8. ขนาดความจุของฮาร์ดดิสก์ (Hard disk) 

              

วันเสาร์ที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2556

นางสาวสุวิมล วุฒิยาสาร


นางสาวสุวิมล  วุฒิยาสาร สาขาบัญชี ป .ว .ส 1/3

บทที่  6  อินเตอร์เน็ต


ตอนที่  1

1. อินเตอร์เน็ตใช้โปรโตคอลใดเป็นมาตรฐานเดียวกันเพื่อเชื่อมเครือข่ายเข้าด้วยกัน
ตอบ   
TCP/IP คือโปรโตคอลบนระบบปฏิบัติการยูนิกซ์ที่ใช้ในเครือข่ายอินเตอร์เน็ต
           IP Address คือ หมายเลขประจำเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้โปรโตคอล TCP/IP ซึ่งไม่ซ้ำกันทั่วโลก

2.  อินเตอร์เน็ตเป็นเครือข่ายของเครือข่ายเดิมมีชื่อว่าอะไร
ตอบ   อาร์พาเน็ต

5.  โปรโตคอลคืออะไร
ตอบ   โปรโตคอล คือ ข้อกำหนดหรือข้อตกลงในการสื่อสารระหว่างคอมพิวเตอร์ หรือภาษาสื่อสารที่ใช้เป็น ภาษากลางในการสื่อสารระหว่างคอมพิวเตอร์ด้วยกัน การที่เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ถูกเชื่อมโยงกันไว้ในระบบจะสามารถติดต่อสื่อสารกันได้นั้น จำเป็นจะต้องมีการสื่อสารที่เรียกว่า โปรโตคอล (
Protocol) เช่นเดียวกับคนเราที่ต้องมีภาษาพูดเพื่อให้สื่อสารเข้าใจกันได้ 
โปรโตคอลช่วยให้ระบบคอมพิวเตอร์สองระบบ ที่แตกต่างกันสามารถสื่อสารกันอย่างเข้าใจได้  คือข้อตกลงที่กำหนดเกี่ยว กับการสื่อสารระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ต่างๆ ทั้งวิธีการส่งและรับข้อมูล วิธีการตรวจสอบข้อผิดพลาดของการส่งและรับข้อมูล การแสดงผลข้อมูลเมื่อส่งและรับกันระหว่างเครื่องสองเครื่อง ดังนั้นจะเห็นได้ว่าโปรโตคอลมีความสำคัญมากในการสื่อสารบนเครือข่าย หากไม่มีโปรโตคอลแล้ว การสื่อสารบนเครือข่ายจะไม่สามารถเกิดขึ้นได้
ตัวอย่างของโปรโตคอล
1) โปรโตคอล HTTP หรือ Hypertext Transfer Protocol จะใช้เมื่อเรียกโปรแกรมบราวเซอร์ (Browser)
2) โปรโตคอล TCP/IP หรือ Transfer Control Protocol/Internet Protocolคือเครือข่ายโปรโตคอลที่สำคัญมากที่สุด เนื่องจากเป็นโปรโตคอลที่ใช้ในระบบเครือข่าย Internet รวมทั้งIntranet ซึ่งประกอบด้วย โปรโตคอลคือ TCP และ IP
3) โปรโตคอล SMTP หรือ Simple Mail Transfer Protocol คือ โปรโตคอล ที่ใช้ในการรับส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์บนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
นอกจากโปรโตคอลที่กล่าวมาข้างต้นแล้ว ยังมีโปรโตคอลต่างๆอีกมากมาย เช่น การโอนย้ายแฟ้มระหว่างกัน ใช้โปรโตคอลชื่อ FTP หรือ File Transfer Protocol การโอนย้ายข่าวสารระหว่างกันก็ใช้โปรโตคอลชื่อ NNP หรือ Network News Transfer Protocol และยังมีโปรโตคอลที่สำคัญสำหรับการสอบถามข้อมูลข่าวสารระหว่างกัน ซึ่งเป็นโปรโตคอลที่มีประโยชน์มาก โปรโตคอลนี้มีชื่อว่า ICMP หรือ Internet Control Message Protocol เป็นต้น

7.  ระบบชื่อโดเมนคืออะไร
ตอบ   
 ระบบชื่อโดเมน (Domain Name System) หรือ ดีเอ็นเอส (DNS) เป็นระบบการตั้งชื่อให้กับ "ทรัพยากรเครือข่าย” แต่ที่พบโดยทั่วไปคือการตั้งชื่อโฮสต์เพื่อใช้แทนไอพีแอดเดรส ดีเอ็นเอสเป็นระบบชื่อที่มีฐานข้อมูลแบบกระจาย โดยไม่มีหน่วยงานหรือสถาบันใดควบคุมหรือมีฐานข้อมูลเดี่ยวครอบคลุมทั้งอินเทอร์เน็ต แต่ละเครือข่ายในอินเทอร์เน็ตจะมีดีเอ็นเอสเซอร์ฟเวอร์เก็บรักษาฐานข้อมูลและบริหารข้อมูลอย่างอิสระ เพื่อให้ไคลเอ็นต์ขอบริการสอบถามข้อมูลตามแบบโปรโตคอลที่กำหนด ดีเอ็นเอสจึงเป็นทั้งระบบการตั้งชื่อและโปรโตคอลรวมอยู่ด้วยกัน
            เมื่อใช้ชื่อแทนไอพีแอดเดรสสำหรับเรียกใช้บริการหนึ่งๆ โปรแกรมประยุกต์ที่เกี่ยวข้องกับบริการนั้นจะใช้กลไกของระบบเพื่อแปลงชื่อไปเป็นไอพีแอดเดรส และนำไอพีแอดเดรสนั้นติดต่อไปยังคอมพิวเตอร์ปลายทางต่อไป


ตอนที่ 3

1.  HTML
ตอบ   ข้อมูลที่เป็นข้อความ  ภาพนิ่ง  ภาพเคลื่อนไหวและเสียง

2.  SLIP/PPP
ตอบ   การต่อต้านโปรโตคอล

3.  IP Address
ตอบ   หมายเลขประจำเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้โปรโตคอล TCP/ IP ซึ่งจะไม่ซ้ำกันทั่วโลก

4.  TCP/IP
ตอบ   โปรโตคอลระบบปฏิบัติการยูนิกซ์ดีใช้เครือข่ายอินเตอร์เน็ต

5.  Encryption
ตอบ   การป้อนข้อมูลเป็นรหัสลับที่ไม่สามารถอ่านได้

6.  PGP
ตอบ   โปรแกรมจำรหัส

7.  Teleconferencing System
ตอบ   ระบบจัดการประชุมทางไกล

8.  Virual Univesity
ตอบ   ระบบมหาวิทยาลัยเสมือน

9.  Web Page
ตอบ   แต่ละหน้าของเว็บ

10.  Home Page
ตอบ   หน้าแรกของเว็บ


วันพฤหัสบดีที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2556

นางสาวสุวิมล วุฒิยาสาร

 นางสาวสุวิมล  วุฒิยาสาร บัญชี ป.ว.ส 1/3

เเบบฝึกหัด
  1.  ประวัติความเป็นมาของอินเตอร์เน็ต
ตอบ ในปี พ.ศ. ๒๕๐๐ ประเทศรัสเซียส่งดาวเทียมขึ้นสู่อวกาศได้สำเร็จ กระทรวงกลาโหมของสหรัฐอเมริกาจึงได้รับรู้ว่า เทคโนโลยีชั้นสูงของประเทศยังล้าหลังกว่าของรัสเซีย ซึ่งส่งผลให้เกิดการตื่นตัวที่จะพัฒนาเทคโนโลยีชั้นสูง รัฐบาลสหรัฐอเมริกาโดยกระทรวงกลาโหมจึงก่อตั้งหน่วยงานวิจัยชั้นสูงที่ชื่อ ว่า Advanced ResearchProjects Agency หรือที่รู้จักกันในนามของ ARPA
          ต่อมา ในปี พ.ศ. ๒๕๐๘ ARPA ได้ให้ทุนแก่มหาวิทยาลัยของสหรัฐอเมริกา เพื่อการทำวิจัยในหัวข้อเรื่อง เครือข่ายการทำงานร่วมกันของคอมพิวเตอร์แบบแบ่งเวลางาน (Cooperative net-work of Time-Shared Computers) หลังจากนั้นอีก ๓ ปี กระทรวงกลาโหมก็ได้สนับสนุนโครง-การวิจัยเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่ชื่อว่า ARPANETจนกระทั่งในปี พ.ศ. ๒๕๑๒ โครงการ ARPANETได้เชื่อมโยงคอมพิวเตอร์ของมหาวิทยาลัย ๔ แห่งเข้าด้วยกันในปี พ.ศ. ๒๕๑๔ เครือข่าย ARPANETขยายใหญ่ขึ้น และสามารถเชื่อมโยงคอมพิวเตอร์ของมหาวิทยาลัยต่างๆได้ถึง ๒๓ เครื่อง
          จากการศึกษาเรื่องเครือข่ายคอมพิวเตอร์จนถึงระยะเวลานั้น ผู้พัฒนาเครือข่ายหลายคนเริ่มเห็นปัญหาของการเชื่อมโยงระบบคอมพิวเตอร์ที่มี หลากหลายชนิด และหลากหลายผลิตภัณฑ์ จึงทำให้เกิดปัญหายุ่งยากในการเชื่อมโยง แนวความคิดที่จะสร้างระบบเปิดจึงเกิดขึ้น กล่าวคือ กำหนดมาตรฐานกลางที่ผลิตภัณฑ์ทุกยี่ห้อสามารถจะเชื่อมโยงเข้าสู่มาตรฐานนี้ ได้
          แนวคิดในการเชื่อมโยงเครือข่ายเข้าด้วยกันและเชื่อมโยงในลักษณะวงกว้างเป็น สิ่งที่เป็นไปได้ดังนั้น ในปี พ.ศ. ๒๕๑๕ ผู้พัฒนาเครือข่ายจึงสร้างโพรโทคอลใหม่ และให้ชื่อว่า TCP/IP (Trans-mission Control Protocol / Internet Protocol)และให้ชื่อเครือข่ายที่เชื่อมโยงโดยใช้โพรโทคอลนี้ว่า อินเทอร์เน็ต หลังจากนั้น โครงการARPANET ได้นำโพรโทคอล TCP/IP ไปใช้
          การพัฒนาเครือข่ายคอมพิวเตอร์ได้ดำเนิน-การต่อมา ถึงแม้ว่าในช่วงหลัง กระทรวงกลาโหมของสหรัฐอเมริกาได้ยกเลิกการสนับสนุน และหันกลับไปทำวิจัยและพัฒนาเอง เครือข่ายนี้ก็เติบโตขึ้นอย่างรวดเร็ว และมีการพัฒนามาตรฐานต่างๆเข้ามาใช้ประกอบร่วมกันอย่างต่อเนื่อง จนในที่สุดได้กลายเป็นมาตรฐานการสื่อสารที่ชื่อว่า TCP/IP และใช้ชื่อเครือข่ายว่า อินเทอร์เน็ต(Internet)
          ต่อมาการบริหารและดำเนินงานเครือข่ายได้รับการสนับสนุนจากมูลนิธิการศึกษา วิทยา-ศาสตร์แห่งชาติสหรัฐอเมริกา หรือที่ใช้ชื่อย่อว่าNSF (National Science Foundation) มีการตั้งคณะกรรมการเข้ามาบริหารเครือข่ายกลางที่เปิด  โอกาสให้ผู้อื่นเข้ามาเชื่อมโยง และได้ดำเนินการจนอินเทอร์เน็ตกลายเป็นเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่ยิ่งใหญ่ของ โลก  สำหรับในประเทศไทย เริ่มเชื่อมโยงเข้าสู่ระบบอินเทอร์เน็ตตั้งแต่กลางปี พ.ศ. ๒๕๓๐ โดยมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ได้ทำการเชื่อมโยงเพื่อส่งอิเล็กทรอนิกส์เมลกับ ประเทศออสเตรเลียซึ่งทำให้มีระบบอิเล็กทรอนิกส์เมลเชื่อมต่อกันอินเทอร์เน็ต เป็นครั้งแรก ต่อมาในวันที่ ๒๗กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๓๕ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้เช่าสายวงจรเชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ตเป็นครั้งแรก ในช่วงระยะเวลาเดียวกันนี้ กระทรวงวิทยาศาสตร์ฯโดยศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ ก็ได้มีโครงการที่จะเชื่อมโยงเครือข่ายคอมพิวเตอร์ระหว่างมหาวิทยาลัยขึ้น เครือข่ายคอมพิวเตอร์ระหว่างมหาวิทยาลัยในประเทศไทยได้พัฒนาก้าวหน้าขึ้น เป็นลำดับ จนทำให้มีสถาบันออนไลน์กับอินเทอร์เน็ตเป็นกลุ่มแรก ได้แก่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลับ มหาวิทยาลับธรรมศาสตร์สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเซีย มหาวิทยาลัยสงขลา-นครินทร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ
          การพัฒนาเครือข่ายจึงเป็นไปตามกระแสการเชื่อมโยงเข้าสู่ระบบสากล มาตรฐานการเชื่อมโยงเป็นแบบโพรโทคอล TCP/IP ตามมาตรฐานนี้มีการกำหนดหมายเลขแอดเดรสให้แก่เครือข่ายและเครื่อง คอมพิวเตอร์ โดยมีการสร้างเป็นลำดับชั้นเพื่อให้การเชื่อมโยงเครือข่ายเป็นระบบ แอดเดรส นี้จึงมีชื่อว่า ไอพีแอดเดรส (IP address) ไอพีแอดเดรสทุกตัวจะต้องได้รับการลงทะเบียน เพื่อจะได้มีหมายเลขไม่ซ้ำกันทั่วโลกการกำหนดแอดเดรสจะเป็นการกำหนดหมายเลข ให้แก่เครือข่าย
          ผู้ใช้เครือข่ายย่อยในเครือข่ายที่เชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ตจะเป็นสมาชิกของ อินเทอร์เน็ตโดยปริยาย เพราะเครื่องคอมพิวเตอร์ของตนสามารถเชื่อมโยงกับเครื่องอื่นๆได้ทั่วโลก ผู้ใช้งานอยู่ที่บ้านสามารถใช้คอมพิวเตอร์จากบ้านต่อผ่านโมเด็มมาที่เครื่อง หลัก หลังจากนั้นก็จะเชื่อมโยงเข้าสู่เครือข่ายต่างๆได้ นิสิตนักศึกษาซึ่งอยู่ที่บ้านจะสามารถติดต่อกับอาจารย์ผู้สอนในมหาวิทยาลัย หรือติดต่อกับเพื่อนๆได้ ทั้งในมหาวิทยาลัยและต่างมหาวิทยาลัย หรือในต่างประเทศ
          อินเทอร์เน็ตจึงเป็นเครือข่ายคอมพิวเตอร์มีอัตราการขยายตัวอย่างรวดเร็ว จนคาดกันว่าในอนาคต เครือข่ายอินเทอร์เน็ตจะเชื่อมโยงคนทั้งโลกเข้าด้วยกัน
          เครือข่ายคอมพิวเตอร์ในประเทศไทยสามารถเชื่อมโยงได้ทุกมหาวิทยาลัย โดยมีการเชื่อมโยงเข้าสู่อินเทอร์เน็ตที่เชื่อมโยงกันในประเทศซึ่งจัดการโดย หน่วยบริการอินเทอร์เน็ต หรือที่เรียกว่า ISP (Internet Service Provider)หน่วยบริการ ISP จะมีสายเชื่อมโยงไปยังต่างประเทศเข้าสู่อินเทอร์เน็ต
          ในปี พ.ศ. ๒๕๓๕ เครือข่ายระหว่างมหาวิทยาลัยได้เชื่อมโยงกัน โดยมีแกนกลางคือศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ และให้ชื่อเครือข่ายนี้ว่า เครือข่ายไทยสาร(THAISARN - THAI Social / Scientific, Academicand Research Network) การเชื่อมโยงภายในประเทศทำให้ทุกเครือข่ายย่อยสาามารถเชื่อมโยงเป็นอินเทอร์ เน็ตสากลได้
 
2.ประโยชน์ของการใช้คอมพิวเตอร์ 

ตอบ 
1. ทันสมัย / ทันเหตุการณ์ / ทันข้อมูลข่าวสาร / ทันโลก ช่วยให้เราสามารถติดต่อสื่อสารกันได้ทั่วโลก
2. ช่วยให้การเรียน การทำงาน ทันสมัยและไรับความสะดวกมากยิ่งขึ้น เช่น ได้เรียนรู้จากสื่อที่ทัน  สมัยที่สร้างด้วยคอมพิวเตอร์ที่เรียกว่า โปรแกรม CAI
3. เป็นแหล่งการเรียนรู้ที่ดีเยี่ยม ช่วยในการค้นคว้าหาความรู้เป็นห้องสมุดขนาดใหญ่
4. ช่วยรับ - ส่งข่าวสารได้อย่างรวดเร็ว
5. ช่วยผ่อนคลายความตึงเครียด เช่น เกม ดูภาพยนตร์ ฟังเพลง ร้องเพลง
6. ช่วยสร้างงานศิลปะ ออกแบบชิ้นงานได้อย่างสร้างสรรค์ สวยงาม
  แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ
1. ประโยชน์ทางตรง 

        

 ช่วยให้มนุษย์ทำงานได้โดยตรงคือคอมพิวเตอร์ทำงานได้เที่ยงตรง รวดเร็ว ไม่เหน็ดเหนื่อย ช่วยผ่อนแรงมนุษย์ ในด้านต่าง ๆ
เช่น ด้านการคำนวณ พิมพ์งาน บันทึกข้อมูล ประมวลผล ไม่ว่าจะเป็นหน่วยงานในแวดวงใน หากนำคอมพิวเตอร์เข้าช่วยงาน
จะช่วยแบ่งเบาภาระงานได้เป็นอย่างดีและมีประสิทธิภาพ
 
2. ประโยชน์ทางอ้อม
        คอมพิวเตอร์ช่วยพัฒนาคุณภาพชีวิต เช่น ช่วยในการเรียนรู้ให้ความปันเทิงความรู้ ช่วยงานบันเทิงพัฒนางานด้านต่าง ๆ
เพื่อพัฒนาเทคโนโลยีอันส่งผลให้ความเป็นอยู่ของมนุษย์ดีขึ้น เป็นต้น 

3.ให้หาว่าอาชญากรรมที่เกิดขึ้นในระบบอินเตอร์เน็ต 
ตอบ อาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ (Cyber-Crime) เป็นการกระทำที่ผิดกฎหมายโดยใช้วิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์เพื่อโจมตีระบบคอมพิวเตอร์และข้อมูลที่อยู่บนระบบดังกล่าว ส่วนในมุมมองที่กว้างขึ้น “อาชญากรรมที่เกี่ยวเนื่องกับคอมพิวเตอร์” หมายถึงการกระทำที่ผิดกฎหมายใดๆ ซึ่งอาศัยหรือมีความเกี่ยวเนื่องกับระบบคอมพิวเตอร์หรือเครือข่าย อย่างไรก็ตาม อาชญากรรมประเภทนี้ไม่ถือเป็นอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์โดยตรง
ในการประชุมสหประชาชาติครั้งที่ 10 ว่าด้วยการป้องกันอาชญากรรมและการปฏิบัติต่อผู้กระทำผิด (The Tenth United Nations Congress on the Prevention of Crime and the Treatment of Offenders) ซึ่งจัดขึ้นที่กรุงเวียนนา เมื่อวันที่ 10-17 เมษายน2543 ได้มีการจำแนกประเภทของอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ โดยแบ่งเป็น 5 ประเภท คือ การเข้าถึงโดยไม่ได้รับอนุญาต, การสร้างความเสียหายแก่ข้อมูลหรือโปรแกรมคอมพิวเตอร์, การก่อกวนการทำงานของระบบคอมพิวเตอร์หรือเครือข่าย, การยับยั้งข้อมูลที่ส่งถึง/จากและภายในระบบหรือเครือข่ายโดยไม่ได้รับอนุญาต และการจารกรรมข้อมูลบนคอมพิวเตอร์
โครงการอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์และการโจรกรรมทรัพย์สินทางปัญญา (Cyber-Crime and Intellectual Property Theft) พยายามที่จะเก็บรวบรวมและเผยแพร่ข้อมูล และค้นคว้าเกี่ยวกับอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ 6 ประเภท ที่ได้รับความนิยม ซึ่งส่งผลกระทบโดยตรงต่อประชาชนและผู้บริโภค นอกจากนี้ยังทำหน้าที่เผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับขอบเขตและความซับซ้อนของปัญหา รวมถึงนโยบายปัจจุบันและความพยายามในการปัญหานี้
อาชญากรรม 6 ประเภทดังกล่าวได้แก่
  1. การเงิน – อาชญากรรมที่ขัดขวางความสามารถขององค์กรธุรกิจในการทำธุรกรรม อี-คอมเมิร์ซ(หรือพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์)  
  2. การละเมิดลิขสิทธิ์ – การคัดลอกผลงานที่มีลิขสิทธิ์ ในปัจจุบันคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลและอินเทอร์เน็ตถูกใช้เป็นสื่อในการก่ออาชญากรรม แบบเก่า โดยการโจรกรรมทางออนไลน์หมายรวมถึง การละเมิดลิขสิทธิ์ ใดๆ ที่เกี่ยวข้องกับการใช้อินเทอร์เน็ตเพื่อจำหน่ายหรือเผยแพร่ผลงานสร้างสรรค์ที่ได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์  
  3. การเจาะระบบ – การให้ได้มาซึ่งสิทธิในการเข้าถึงระบบคอมพิวเตอร์หรือเครือข่ายโดยไม่ได้รับอนุญาต และในบางกรณีอาจหมายถึงการใช้สิทธิการเข้าถึงนี้โดยไม่ได้รับอนุญาต นอกจากนี้การเจาะระบบยังอาจรองรับอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ในรูปแบบอื่นๆ (เช่น การปลอมแปลง การก่อการร้าย ฯลฯ)  
  4. การก่อการร้ายทางคอมพิวเตอร์ – ผลสืบเนื่องจากการเจาะระบบ โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อสร้างความหวาดกลัว เช่นเดียวกับการก่อการร้ายทั่วไป โดยการกระทำที่เข้าข่าย การก่อการร้ายทางอิเล็กทรอนิกส์ (e-terrorism) จะเกี่ยวข้องกับการเจาระบบคอมพิวเตอร์เพื่อก่อเหตุรุนแรงต่อบุคคลหรือทรัพย์สิน หรืออย่างน้อยก็มีจุดมุ่งหมายเพื่อสร้างความหวาดกลัว  
  5. ภาพอนาจารทางออนไลน์ – ตามข้อกำหนด 18 USC 2252 และ 18 USC 2252A การประมวลผลหรือการเผยแพร่ภาพอนาจารเด็กถือเป็นการกระทำที่ผิดกฎหมาย และตามข้อกำหนด 47 USC 223 การเผยแพร่ภาพลามกอนาจารในรูปแบบใดๆ แก่เยาวชนถือเป็นการกระทำที่ขัดต่อกฎหมาย อินเทอร์เน็ตเป็นเพียงช่องทางใหม่สำหรับอาชญากรรม แบบเก่า อย่างไรก็ดี ประเด็นเรื่องวิธีที่เหมาะสมที่สุดในการควบคุมช่องทางการสื่อสารที่ครอบคลุม ทั่วโลกและเข้าถึงทุกกลุ่มอายุนี้ได้ก่อให้เกิดการถกเถียงและการโต้ แย้งอย่างกว้างขวาง  
  6. ภายในโรงเรียน – ถึงแม้ว่าอินเทอร์เน็ตจะเป็นแหล่งทรัพยากรสำหรับการศึกษาและสันทนาการ แต่เยาวชนจำเป็นต้องได้รับทราบเกี่ยวกับวิธีการใช้งานเครื่องมืออันทรงพลังนี้อย่างปลอดภัยและมีความรับผิดชอบ โดยเป้าหมายหลักของโครงการนี้คือ เพื่อกระตุ้นให้เด็กได้เรียนรู้เกี่ยวกับข้อกำหนดทางกฎหมาย สิทธิของตนเอง และวิธีที่เหมาะสมในการป้องกันการใช้อินเทอร์เน็ตในทางที่ผิด 

4.การให้บริการบนอินเตอร์เน็ตมีอะไรบ้าง
  ตอบ บริการของอินเตอร์เน็ต ได้แก่
1. ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ หรือ อีเมล เป็นการส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตโดยผู้ส่งจะต้อง ส่งข้อความไปยังที่อยู่ของผู้รับ และแนบไฟล์ไปได้ 
2. เทลเน็ต (Telnet) การใช้งานคอมพิวเตอร์อีกเครื่องหนึ่งที่อยู่ไกล ๆ ได้ด้วยตนเอง เช่น สามารถเรียกข้อมูลจากโรงเรียนมาทำที่บ้านได้ 
3. การโอนถ่ายข้อมูล (FTP) ค้นหาและเรียกข้อมูลจากแหล่งต่าง ๆ มาเก็บไว้ในเครื่องของเราได้ ทั้งข้อมูลประเภทตัวหนังสือ รูปภาพและเสียง 
4. การสืบค้นข้อมูล (เวิลด์ไวด์เว็บ, Gopher, Archie) การใช้เครือข่ายอินเทอร์เน็ตในการค้นหาข่าวสารที่มีอยู่มากมาย ใช้สืบค้นข้อมูลจากแหล่งข้อมูลต่าง ๆ ทั่วโลกได้ 
5. การแลกเปลี่ยนข่าวสารและความคิดเห็น (ยูสเน็ต) เป็นการบริการแลกเปลี่ยนข่าวสารและแสดงความคิดเห็นที่ผู้ใช้บริการอินเทอร์ เน็ตทั่วโลก แสดงความคิดเห็นของตน โดยกลุ่มข่าวหรือนิวกรุ๊ป(Newgroup)แลกเปลี่ยนความคิดเห็นกัน 
6. การสื่อสารด้วยข้อความ (แชท, ไออาร์ซี) เป็นการพูดคุย โดยพิมพ์ข้อความตอบกัน ซึ่งเป็นวิธีการสื่อสารที่ได้รับความนิยมมากอีกวิธีหนึ่ง การสนทนากันผ่านอินเทอร์เน็ตเปรียบเสมือนเรานั่งอยู่ในห้องสนทนาเดียวกัน แม้จะอยู่คนละประเทศหรือคนละซีกโลกก็ตาม 
7. การซื้อขายสินค้าและบริการ (พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์) เป็นการซื้อ - สินค้าและบริการ ผ่านอินเทอร์เน็ต 
8. การให้ความบันเทิง บนอินเทอร์เน็ตมีบริการด้านความบันเทิงหลายรูปแบบต่าง ๆ เช่น รายการโทรทัศน์ เกม เพลง รายการวิทยุ เป็นต้น เราสามารถเลือกใช้บริการเพื่อความบันเทิงได้ตลอด 24 ชั่วโมง

วันอังคารที่ 8 มกราคม พ.ศ. 2556

นางสาว สุวิมล วุฒิยาสาร


นางสาว สุวิมล วุฒิยาสาร บัญชีป.ว.ส 1/3


บทที่ 5
การสื่อสารข้อมูลและระบบเครือข่าย


ตอนที่ 1

1. อธิบายความหมายของ ระบบการสื่อสารข้อมูล
         
  การสื่อสารข้อมูล (Data Communications) หมายถึง กระบวนการถ่ายโอนหรือแลกเปลี่ยนข้อมูลกันระหว่างผู้ส่งและผู้รับโดยผ่านช่องทางสื่อสาร เช่น อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ หรือคอมพิวเตอร์เป็นตัวกลางในการส่งข้อมูล เพื่อให้ผู้ส่งและผู้รับเกิดความเข้าใจ ซึ่งกันและกัน 



2. องค์ประกอบพื้นฐานของระบบสื่อสารมีอะไรบ้าง
          องค์ประกอบขั้นพื้นฐานของระบบสื่อสารโทรคมนาคม สามารถจำแนกออกเป็นส่วนประกอบได้ดังต่อไปนี้

1.ผู้ส่งหรืออุปกรณ์ส่งข้อมูล
2.ผู้รับหรืออุปกรณ์รับข้อมูล
3.ข้อมูล
4.ช่องทางการสื่อสาร
5.โปรโตคอล

      


3.สัญญาณอนาล็อกต่างจากสัญญาณดิจิตอลอย่างไร

       สัญญาณอนาลอก (Analog Signal) หมายถึงสัญญาณข้อมูลแบบต่อเนื่อง (Continuouse Data) มีขนาดของสัญญาณไม่คงที่ การเปลี่ยนแปลงขนาดของสัญญาณแบบค่อยเป็นค่อยไป มีลักษณะเป็นเส้นโค้งต่อเนื่องกันไป โดยการส่งสัญญาณแบบอนาล็อกจะถูกรบกวนให้มีการแปลความหมายผิดพลาดได้ง่าย เช่น สัญญาณเสียงในสายโทรศัพท์ เป็นต้น

สัญญาณดิจิตอล(Digital Signal) หมายถึง สัญญาณที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลแบบไม่ต่อเนื่อง(Discrete Data) ที่มีขนาดแน่นอนซึ่งขนาดดังกล่าวอาจกระโดดไปมาระหว่างค่าสองค่า คือ สัญญาณระดับสูงสุดและสัญญาณระดับต่ำสุด ซึ่งสัญญาณดิจิตอลนี้เป็นสัญญาณที่คอมพิวเตอร์ใช้ในการทำงานและติดต่อสื่อสารกัน

อนาล็อก กับ ดิจิตอล ต่างกันอย่างไร? อนาล็อก กับ ดิจิตอล มีความแตกต่างกันทางความต่อเนื่องของสัญญาณ และความแม่นยำของสัญญาณ


4. รูปแบบการส่งสัญญาณข้อมูลแบบ Full-Duplex เป็นอย่างไร
          การส่งสัญญาณทางคู่ (Full-Duplex หรือ Both way Transmission) การส่งสัญญาณแบบนี้สามารถส่งข้อมูลได้พร้อมกันทั้งสองทางในเวลาเดียวกัน เช่น การใช้โทรศัพท์ ผู้ใช้สามารถพูดสายโทรศัพท์ได้พร้อม ๆ กัน


5. สื่อกลางในการสื่อสารชนิดสื่อที่สามารถกำหนดเส้นทางได้เป็นอย่างไร ยกตัวอย่าง
            ตัวกลางหรือสายเชื่อมโยง เป็นส่วนที่ทำให้เกิดการเชื่อมต่อระหว่างอุปกรณ์ต่างๆ เข้าด้วยกัน และอุปกรณ์ที่ยอมให้ข่าวสารข้อมูลเดินทางผ่านจากผู้ส่งไปสู่ผู้รับ สื่อกลางที่ใช้ในการสื่อสารข้อมูลมีอยู่หลายประเภท แต่ละประเภทมีความแตกต่างกันในด้านของปริมาณข้อมูลที่สื่อกลางนั้นๆ สามารถนำผ่านไปได้ในเวลาขณะใดขณะหนึ่ง การวัดปริมาณหรือความจุในการนำข้อมูลหรือที่เรียกกันว่า แบนด์วิดธ์ (Bandwidth) มีหน่วยเป็นจำนวน บิต ข้อมูลต่อวินาที (bits per second: bps)ลักษณะของตัวกลางต่างๆ เช่น
       1)สายคู่บิดเกลียว(twisted pair) 
       2)สายโคแอกเชียล(coaxial)
       3)เส้นใยนำแสง(Fiber Optic) 


6.สายโคแอกเชียลมีคุณสมบัติอย่างไร ยกตัวอย่างการนำสายชนิดนี้มาใช้งานด้านใดบ้าง
          สายโคแอกเชียล(coaxial) เป็นตัวกลางเชื่อมโยงที่มีลักษณะเช่นเดียวกับสายที่ต่อจากเสาอากาศของโทรทัศน์ สายโคแอกเชียลที่ใช้ทั่วไปมี ชนิดคือ 50 โอห์ม ซึ่งใช้ส่งข้อมูลแบบดิจิตอล และชนิด 75 โอห์ม ซึ่งใช้ส่งข้อมูลสัญญาณแอนะล็อก สายประกอบด้วยลวดทองแดงที่เป็นแกนหลักหนึ่งเส้นที่หุ้มด้วยฉนวนชั้นหนึ่งเพื่อป้องกันกระแสไฟรั่วจากนั้นจะหุ้มด้วยตัวนำซึ่งทำจากลวดทองแดงถักเป็นเปีย เพื่อป้องกันการรบกวนของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าและสัญญาณรบกวนอื่นๆ ก่อนจะหุ้มชั้นนอกสุดด้วยฉนวนพลาสติก ลวดทองแดงที่ถักเป็นเปียนี้เอง เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้สายแบบนี้มีช่วงความถี่สัญญาณไฟฟ้าสามารถผ่านได้สูงมากและนิยมใช้เป็นช่องสื่อสารสัญญาณแอนะล็อกเชื่อมโยงผ่านใต้ทะเลและใต้ดิน


7.เพราะเหตุใดจึงนำเอาสายเคเบิลใยแก้วนำแสงมาเป็นแกนหลัก (Backbone) ของเครือข่าย                                     
       เพราะเส้นใยนำแสง(Fiber Optic) มีแกนกลางของสายซึ่งประกอบด้วยเส้นใยแก้วหรือพลาสติกขนาดเล็กหลาย ๆ เส้นอยู่รวมกัน เส้นใยแต่ละเส้นมีขนาดเล็กเท่าเส้นผมและภายในกลวง และเส้นใยเหล่านั้นได้รับการห่อหุ้มด้วยเส้นใยอีกชั้นหนึ่ง ก่อนจะหุ้มชั้นนอกสุดด้วยฉนวน การส่งข้อมูลผ่านทางสื่อกลางชนิดนี้จากแตกต่างจากชนิดอื่น ๆ ซึ่งใช้สัญญาณไฟฟ้าในการส่ง แต่การทำงานของสื่อกลางชนิดนี้ จะใช้เลเซอร์วิ่งผ่านช่องกลวงของเส้นใยแต่ละเส้น และอาศัยหลักการหักเหของแสง โดยใช้ใยแก้วชั้นนอกเป็นกระจกสะท้อนแสง การให้แสงเคลื่อนที่ไปในท่อแก้ว สามารถส่งข้อมูลด้วยอัตราความหนาแน่นของสัญญาณข้อมูลสูงมาก และไม่มีการก่อกวนของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า ปัจจุบันถ้าใช้เส้นใยนำแสงกับระบบอีเทอร์เน็ต จะใช้ได้ด้วยความเร็วหลายร้อยเมกะบิต และเนื่องจากความสามารถในการส่งข้อมูลด้วยอัตราความหนาแน่นสูง ทำให้สามารถส่งข้อมูลทั้งตัวอักษร เสียง ภาพกราฟิก หรือวีดิทัศน์ได้ในเวลาเดียวกัน อีกทั้งยังมีความปลอดภัยในการส่งสูง แต่อย่างไรก็มีข้อเสียเนื่องจากการบิดงอสายสัญญาณจะทำให้เส้นใยหัก จึงไม่สามารถใช้สื่อกลางชนิดนี้ในการเดินทางตามมุมตึกได้ เส้นใยนำแสงมีลักษณะพิเศษที่ใช้สำหรับเชื่อมโยงแบบจุดไปจุด ดังนั้นจึงเหมาะที่จะใช้กับการเชื่อมโยงระหว่างอาคารกับอาคาร หรือระหว่างเมืองกับเมือง เส้นใยนำแสงจึงถูกนำไปใช้เป็นสายแกนหลัก        


8.หากไม่ต้องการใช้สายเคเบิลใยแก้วนำแสงเป็นแกนหลักของเครือข่าย จะใช้สื่อชนิดใดแทนได้ เพราะเหตุใด
           สายโคแอกเชียล  เพราะมีคุณสมบัติคล้ายคลึงกับสายเคเบิลใยแก้วนำแสง


9.อธิบายความหมายของ "ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์"
        คือมีคอมพิวเตอร์ตั้งแต่เครื่องขึ้นไปที่เป็นอิสระต่อกันได้โดยไม่จำกัดและมีความชัดเจนในเรื่องของจำนวนเครื่อง


10.ประโยชน์ของระบบเครือข่ายมีอย่างไรบ้าง
          1.การใช้ทรัพยากรร่วมกัน
         2.ติดต่อแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างผู้ใช้
         3.เพิ่มความเชื่อถือ
         4.ประหยัดงบประมาณ
         5.ควบคุมและจัดสรรทรัพยากรจากส่วนกลาง
         6.เพิ่มจำนวนผู้ให้บริการและผู้ใช้ได้ตลอดเวลา
         7.อุปกรณ์(Equipment)ที่มีความแตกต่าง  สามารถใช้งานร่วมกันได้



  ตอนที่3


1.UTP
      สายยูทีพี เป็นสายคู่บิดเกลียว ไม่มีฉนวนหุ้มอีกชั้น มักใช้ในการเดินสายโทรศัพท์และระบบเครือข่ายใกล้ๆ
2.Unguided  Media
 เป็นสิ่งที่ไม่สามารถกำหนดเส้นทางได้
3.Downlink
        สัญญาณดาวลิงก์  เป็นสัญญาณป้องกันการรบกวนเข้ามา
4. Transponder
 ทำหน้าที่ขยายสัญญาณที่รับมาซึ่งมีกลไก
5.Distributed  System
 คอมพิวเตอร์แบบกระจาย ผู้ใช้สามารถประมวลผลได้เองไม่ต้องมาที่ศูนย์

6.WAN
 เครือข่ายวงกว้าง  ระบบเครือข่ายที่ขยายเขตการเชื่อมต่อครอบคลุมพื้นที่ระดับระดับภูมิภาค

7.Wireless  Communication
 เครือข่ายไร้สายแบบดิจิตอล  เป็นเทคโนโลยีที่เอื้อให้สามารถทำงานได้ทุกสถานที่และทุกเวลา
8.PDA
  เป็นอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ขนาดเล็กที่ช่วยอำนวยความสะดวกในการจดบันทึก เก็บข้อมูลเดือน เวลานัดหมาย หรือจัดการงานต่างๆได้สะดวกรวดเร็ว

9.
Broadcast  Network
  เป็นแบบกระจาย  ประกอบด้วย ช่องสื่อสารเพียงหนึ่งช่องซึ่งเครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องในเครือข่ายจะใช้งานร่วมกัน

10.Application  Layer
 ระดับชั้นแอฟพลิเคชั้น  เป็นระดับที่ผู้ใช้ติดต่อกันกับระบบเครือข่ายผ่านโปรแกรมประยุกต์ 


นางสาว สุวิมล วุฒิยาสาร บัญชีป.ว.ส 1/3


บทที่4 
 
 
การวิเคราะห์และออกแบบระบบงาน

2.อธิบายความหมายของ "การวิเคราะห์ระบบ"

ตอบ การวิเคราะห์ระบบ คือ ขั้นตอนค้นหาและรวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับระบบที่จะพัฒนา ค้นหาปัญหาจากระบบงาน และวิเคราะที่เกิดขึ้น เพื่อหาแนวทาง พัฒนาปรับปรุง ระบบงานให้ดีขึ้น เพิ่มประสิทธิภาพ ประสิทธิผล จากงานเดิมให้ดีขึ้นได้อย่างไร นอกจากนั้นการวิเคราะห์ยังต้องทำการศึกษาความต้องการของระบบงานใหม่ที่จะได้รับจากการพัฒนาในอนาคต ต้องการให้ระบบงานใหม่ในภาพรวมทำงานอะไรได้บ้าง
ประเด็นสำคัญของการวิเคราะห์ระบบ คือ หาปัญหา เสนอแนวทางปรับปรุง หรือแนวทางการแก้ปัญหาบอกทิศทางการพัฒนาระบบงานใหม่ว่าควรพัฒนาแล้วระบบงานใหม่อะไรบ้าง

3. วงจรพัฒนาระบบมีกี่ขั้นตอนอะไรบ้าง

ตอบ วงจรพัฒนาระบบมี 5 ขั้นตอน

1. ขั้นเตรียมการ สำรวจ กำหนดปัญหา

2. การวิเคราะห์ ทำความเข้าใจกับระบบเดิม

3. การออกแบบ การวางแผนออกแบบระบบใหม่

4. การพัฒนา การทำงานเพื่อให้ได้ระบบงานใหม่ตามที่ออกแบบ

5. การนำไปใช้ การเปลี่ยนไปใช้ระบบใหม่

4. การปรับปรุงระบบงานจะเกิดขึ้นได้ต้องมีการวิเคราะห์ระบบงานก่อน ดังนั้นในขั้นแรกของการการวิเคราห์และออกแบบระบบงานต้องทำอย่างไรบ้าง

ตอบ การค้นหาปัญหาของระบบเดิมที่ใช้อยู่ การที่นักวิเคราะห์ระบบจะทราบได้ว่าองค์กรที่จะทำการวิเคราะห์ระบบนั้น ๆ มีปัญหาหรือไม่ จะต้องทำการแยกแยะระหว่างปัญหาที่เกิดขึ้นจริงกับปัญหาที่เกิดขึ้นจากการตั้งข้อสังเกตของบุคลากรในองค์กรว่าเป็นปัญหา นักวิเคราะห์ระบบจะต้องฉลาดพอที่จะวินิจฉัยข้อแตกต่างระหว่าง 2 ปัญหาที่เกิดขึ้นนี้ และเข้าใจถึงปัญหาที่แท้จริงกับผลของปัญหา เช่น การไม่มีสถานที่เพียงพอสำหรับพนักงานในสำนักงาน ปัญหาที่เกิดขึ้นดูเหมือนว่าจะเป็นเรื่องการไม่มีพื้นที่เพียงพอสำหรับพนักงาน แต่ที่จริงแล้วปัญหาที่เกิดขึ้นคือการจัดระบบการวางสิ่งของยังไม่ดีพอการไม่มีที่เพียงพอเป็นเพียงอาการของปัญหาเท่านั้น นักวิเคราะห์ระบบต้องทำความเข้าใจในเรื่องเหล่านี้
โดยปกติแล้ว นักวิเคราะห์ระบบจะรับทราบปัญหาไว้จากหลาย ๆ แหล่ง ในที่นี้จะแจกแจงออกเป็นรายงานปัญหาที่มาจากปัจจัยภายนอกและปัจจัยภายในง ๆ ที่เกิดขึ้น เพื่อหาแนวทาง พัฒนาปรับปรุง ระบบงานให้ดีขึ้น เพิ่มประสิทธิภาพ ประสิทธิผล จากงานเดิมให้ดีขึ้นได้อย่างไร นอก
7. แผนกระแสข้อมูลมีประโยชน์อย่างไร
        ตอบ1.แผนภาพกระแสข้อมูล ใช้งานได้อิสระโดยไม่จำเป็น ต้องใช้เทคนิคอื่น ๆ เข้ามาช่วย เนื่องจากมีสัญลักษณ์ที่ แทนสิ่งต่าง ๆ ที่วิเคราะห์ระบบ
2.การใช้แผนภาพกระแสข้อมูล ใช้งานได้ง่าย สามารถมองเห็นระบบใหญ่ และ ระบบย่อยที่มีความสัมพันธ์กันอยู่ได้อย่างชัดเจน
3.เป็นเครื่องมือในการสื่อสารระหว่างทีมงานที่พัฒนาระบบ และผู้ใช้งานระบบได้เป็นอย่างดี
4.แผนภาพกระแสข้อมูล ทำให้ขั้นตอนการทำงาน และข้อมูลต่าง ๆ เป็นแผนภาพการไหลของข้อมูลระหว่างโพรเซสได้
10. เครื่องมือที่ใช้ในการพัฒนาระบบเพื่อกำหนดระยะเวลาในการทำงานคืออะไร และมีประโยชน์อย่างไร     ตอบ การที่จะหาว่าโครงการแต่ละโครงการควรจะแล้วเสร็จเมื่อใด สิ่งที่จะต้องทำในขั้นตอนแรกก็คือการจัดทำตารางเวลา(TimeTable)ของทุกๆกิจกรรม(Activity)ที่สร้างขึ้นเป็นงานหรือกล่าวได้ว่าต้องมีการจัดเตรียมแผนสำหรับการทำงานนั้น คือ ผังงานแกนท์ (Gantt Chart) แผนภูมิแกนต์ มีประโยชน์ในการวางแผนและควบคุมติดตามการผลิตหรือการทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ แม้การผลิตนั้นจะมีกระบวนการซ้ำ ๆ หรือมีการพัฒนา สามารถบอกได้ว่างานหรือกิจกรรมใดทำในช่วงเวลาใด, ระยะเวลาเร็วที่สุดที่โครงการดังกล่าวจะเสร็จสิ้นเมื่อใด ใช้ในการบันทึกและดูความกว้าหน้าของงาน วิเคราะห์ความกว้าหน้าของงาน และปรับเปลี่ยนการวางแผนได้ง่าย จึงเป็นที่นิยมรู้จักกันแพร่หลาย แต่ยังไม่สามารถแสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ของกิจกรรมต่าง ๆ ได้อย่างชัดเจน ทำง่าย เข้าใจง่าย ไม่มีการคำนวณที่ซับซ้อน ยุ่งยาก และไม่สิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายในการทำ

ตอนที่ 3 อธิบายสัญลักษณ์ในการเขียนผังงานต่อไปนี้ 


1. จุดที่มีการปฏิบัติงานอย่างใดอย่างหนึ่ง



 

2. จุดที่จะนำข้อมูลเข้าจากภายนอก หรือออกสู่ภายนอก โดยไม่ระบุชนิดของอุปกรณ์
 






3. จุดเริ่มต้นและจุดสิ้นสุดการทำงาน


4. แสดงผลทางจอภาพ




5. แสดงผลทางเครื่องพิมพ์





6. จุดที่จะต้องเลือกปฏิบัติอย่างใดอย่างหนึ่ง





7. โปรแกรมย่อย หรือโมดูล เริ่มทำงานหลังจากจบคำสั่งในโปรแกรมย่อยแล้ว จะกลับมาทำคำสั่งต่อไป



 

8. การเตรียมทำงานลำดับต่อไป




9. จุดเชื่อมต่อของผังงานใช้สัญลักษณ์นี้เพื่อให้ดูง่าย


 





10.จุดเชื่อมต่อของผังงานที่อยู่คนละหน้ากระดาษ



นางสาว สุวิมล วุฒิยาสาร บัญชีป.ว.ส 1/3

 
 
อุปกรณ์ Input และ Output



ส่วนประกอบของคอมพิวเตอร์

 
หน่วยรับข้อมูล (Input Unit)
ทำหน้าที่รับข้อมูลจากผู้ใช้เข้าสู่หน่วยความจำหลัก ปัจจุบันมีสื่อต่าง ๆ ให้เลือกใช้ได้มากมาย แบ่งเป็นประเภทต่าง ๆ ได้ดังนี้
 อุปกรณ์แบบกด (Keyed Device) เช่น แป้นพิมพ์ (Keyboard) แบ่งเป็น 4 กลุ่มด้วยกันคือ
- แป้นอักขระ (Character Keys)
- แป้นควบคุม (Control Keys)
- แป้นฟังก์ชัน (Function Keys)
- แป้นตัวเลข (Numeric Keys)
 อุปกรณ์ชี้ตำแหน่ง (Pointing Device) เช่น เมาส์ (Mouse) ลูกกลมควบคุม (Track ball) แท่งชี้ควบคุม (Track Point) แผ่นรองสัมผัส (Touch Pad) จอยสติก (Joy stick) เป็นต้น

 
จอภาพระบบไวต่อการสัมผัส (Touch-Sensitive Screen) เช่น จอภาพระบบสัมผัส (Touch screen)

 ระบบปากกา (Pen-Based System) เช่น ปากกาแสง (Light pen) เครื่องอ่านพิกัด (Digitizing tablet)
อุปกรณ์กวาดข้อมูล (Data Scanning Device) เช่น เอ็มไอซีอาร์ (Magnetic Ink Character Recognition - MICR) เครื่องอ่านรหัสบาร์โค้ด (Bar Code Reader) สแกนเนอร์ (Scanner) เครื่องรู้จำอักขระด้วยแสง (Optical Character Recognition - OCR) เครื่องอ่านเครื่องหมายด้วยแสง (Option Mark Reader -OMR) กล้องถ่ายภาพดิจิตอล (Digital Camera) กล้องถ่ายทอดวีดีโอดิจิตอล (Digital Video)
 
 อุปกรณ์รู้จำเสียง (Voice Recognition Device) เช่น อุปกรณ์วิเคราะห์เสียงพูด (Speech Recognition Device)


ส่วนประกอบของคอมพิวเตอร์ > หน่วยแสดงผล (Output Unit)

หน่วยแสดงผล (Output Unit) ทำหน้าที่แสดงผลลัพธ์จากคอมพิวเตอร์ โดยมากจะแบ่งออกเป็น 2 ประเภท
  1. หน่วยแสดงผลชั่วคราว (Soft Copy
ส่วนประกอบของคอมพิวเตอร์ > หน่วยแสดงผล (Output Unit)

หน่วยแสดงผล (Output Unit) ทำหน้าที่แสดงผลลัพธ์จากคอมพิวเตอร์ โดยมากจะแบ่งออกเป็น 2 ประเภทหมายถึงการแสดงผลออกมาให้ผู้ใช้ได้รับทราบในขณะนั้น แต่เมื่อเลิกการทำงานหรือเลิกใช้แล้วผลนั้นก็จะหายไป ไม่เหลือเป็นวัตถุให้เก็บได้ ถ้าต้องการเก็บผลลัพธ์นั้นก็สามารถส่งถ่ายไปเก็บในรูปของข้อมูลในหน่วยเก็บข้อมูลสำรอง เพื่อให้สามารถใช้งานได้ในภายหลัง ได้แก่
จอภาพ (Monitor)
อุปกรณ์ฉายภาพ (Projector) 

  1. หน่วยแสดงผลชั่วคราว (Soft Copy
  2. หน่วยแสดงผลถาวร (Hard Copy)
    หมายถึงการแสดงผลที่สามารถจับต้อง และเคลื่อนย้ายได้ตามต้องการ มักจะออกมาในรูปของกระดาษ ซึ่งผู้ใช้สามารถนำไปใช้ในที่ต่าง ๆ หรือให้ผู้ร่วมงานดูในที่ใด ๆ ก็ได้ อุปกรณ์
              

นางสาว สุวิมล วุฒิยาสาร บัญชีป.ว.ส 1/3


         แบบทสอบและกิจกรรมฝึกทักษะ
               บทที่2 องค์ประกอบของระบบคอมพิวเตอร์

1. ระบบคอมมพิวเตอร์ประกอบด้วยส่วนสำคัญกี่ส่วน อะไรบ้าง
ตอบ  มี3ส่วน   ฮาร์ดแวร์  ซอร์ฟแวร์และ บุคลากร

2.หน่วยประมวลผลกลางทำหน้าที่อย่างไร
ตอบ  หน่วยประมวลผลกลางก็คือCPU ที่ถือได้ว่าเป็นมันสมองของคอมพิวเตอร์
ซึ่งหน่วยประมวลผลกลางนี้มีหน้าที่ดังนี้ค่ะ
* อ่านและแปลคำสั่ง
* ประมวลผลตามคำสั่ง
* ติดต่อกับหน่วยความจำ
* ติดต่อรับส่งข้อมูลกับผู้ใช้
* ย้ายข้อมูลและคำสั่งระหว่างหน่วยงาน


3.ROM และRAMต่างกันอย่างไร มีกี่ชนิด อะไรที่ใช้กับระบบ POS
ตอบ   ROM * คุณสมบัติคือ เก็บข้อมูลแบบถาวร แต่ความเร็วต่ำ ขนาดไม่ใหญ่มากนัก และไม่มีการแก้ไขข้อมูลบ่อย
          ชนิดของROMมี3ชนิด คือ  PROM    EPROM     EEPROM   และยังใช้ได้กับระบบ  POS
           RAM * คุณสมบัติ เก็บข้อมูลได้เฉพาะเมื่อมีไฟเลี้ยง ความเร็วสูง สามารถมีขนาดใหญ่ๆ ได้ เพื่อใช้กับงานที่มีข้อมูลมากๆ

           ชนิดของRAMมี2ชนิด คือ  DRAM    SRAM

ตอนที่3

1.ซอร์ฟแวร์คืออะไร  แบ่งออกได้เป็นกี่ประเภท  อะไรบ้างจงอธิบาย
ตอบ   คือโปรแกรมหรือชุดคำสั่งในการคอบคุมหรือสั่งให้ซอร์ฟแวร์ปฎิบัติงานได้ ตามวัตถุประสงค์การนำข้อมูล  การประมวลข้อมูล  การแสดงผลลัพธ์  การจัดเก็บข้อมูล  และการคอบคุมการปฎิบัติงานในระบบสารสนเทศ
 แบ่งออกเป็น2ประเภท คือ   วอร์ฟแวร์ระบบ     ซอร์ฟแวร์ประยุกต์

2.โปนแกรมประเภทฟรีแวร์  แชร์แวร์  และเฟิร์มแวร์ เป้นอย่างไร จงอธิบาย
ตอบ      ฟรีแวร์ (Freeware)  หมายถึงโปรแกรมที่มีผู้สร้างขึ้นเพื่อแจกจ่ายให้แก่สาธารณชนใช้ โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตสามารถดาวน์โหลดโปรแกรมฟรีแวร์ไปใช้เองและถ่ายโอนให้แก่ผู้อื่นต่อๆ ไปได้ โดยมีข้อแม้ว่าจะต้องไม่นำไปขายหรือหารายได้จากโปรแกรมนั้น โปรแกรมฟรีแวร์มีหลายประเภท ทั้งโปรแกรมระบบ เช่นLinux , โปรแกรมเกมส์และข้อมูลด้านการศึกษาต่างๆ เป็นต้น เราสามารถหาโปรแกรมฟรีแวร์ๆ ได้จากเว็บไซต์ทั่วไป เช่น freeware.com , thaiware.com
              แชร์แวร์ (shareware)  หมายถึงโปรแกรมที่มีผู้สร้างขึ้น ตั้งใจจะขาย แต่ยอมให้ผู้สนใจนำไปทดลองใช้ดูก่อน โดยไม่ต้องจ่ายค่าลิขสิทธิ์ เมื่อใช้แล้วพอใจและต้องการนำไปใช้งานจริงจัง จะต้องจ่ายเงินซื้อโปรแกรมภายหลังการทดลองใช้งานอาจมีข้อตกลง เช่น 30 วัน , 45 วัน , 60 วัน เป็นต้น ถ้าพอใจก็ส่งเงินไปลงทะเบียน และรับโปรแกรมฉบับบสมบูรณ์เต็มรูปแบบได้ โปรแกรมแชร์แวร์ส่วนใหญ่จะมีราคาไม่แพง คุณภาพพอใช้ได้โปรแกรมบางอย่างใช้งานได้ดีกว่าโปรแกรมที่ขายราคาพงๆ ด้วยซ้ำ และบนอินเทอร์เน็ตนั้นมีแชร์แวร์จำนวนมากให้เราเลือกใช้ การจะดาวน์โหลดโปรแกรมมาใช้งานนั้น สามารถติดต่อผ่านเว็บเบราวเซอร์ ได้
               เฟิร์มแวร์ (Firmware ) หมายถึง software ที่สามารถทำให้ siemens ของคุณupdate ลูกเล่นใหม่ๆ อยู่เสมอ เป็นการพัฒนา software ของบริษัทผู้ผลิตเพื่อเพิ่มสมรรถนะการทำงานในโทรศัพท์มากขึ้น เพราะใน โทรศัพท์มือถือในสมัยนี้ software จะมีบทบาทเข้ามาสนับสนุนและทำให้โทรศัพท์มีขนาดเล็กลง โดยภายใน ตัวเครื่องจะใช้ Rom เป็นที่เก็บ ดังนั้นการ Up Grade Firmware เข้าไปในเครื่องก็จะทำให้เครื่องของเรา ได้ใช้งานอย่างมีประสิทธิภาพขึ้นเรื่อยๆ

นางสาว สุวิมล วุฒิยาสาร บัญชีป.ว.ส 1/3


                                             แบบทดสอบและกิจกรรมการฝึกทักษะ
                                       บทที่3การประมวลผลข้อมูล
1.ข้อมูลปฐมภูมิ และข้อมูลทุติยภูมิต่างกันอย่างไร
ตอบ   คือ ข้อมูลที่ได้มาจากแหล่งกำเนิดข้อมูลโดยตรง เป็นการค้นหาข้อมูลด้วยตัวเอง จากการสัมภาษณ์   การสอบถาม 
          ข้อมูลทุติยภูมมิ คือ ข้อมูลที่มีผู้เก็บรวบรวมข้อมูลไว้แล้ว  สามารถนำมาใช้งานได้ทันทีเช่น ข้อมูลประชากรหญิง

2.อธิบายความหมายของเขตข้อมูล
ตอบ หมายถึง ที่ซึ่งใช้เก็บข้อมูลเฉพาะในโปรแกรมประเภทการจัดการฐานข้อมูล โดยจัดแบ่งให้แต่ละเขตเก็บข้อมูลแต่ละเรื่อง เช่น แบ่งเป็นเขต ชื่อ นามสกุล ที่อยู่ หมายเลขโทรศัพท์ อายุ เพศ ฯ ถ้าเรานำเขตข้อมูลเหล่านี้หลาย ๆ เขตมารวมกัน จะเรียกว่า "ระเบียน" (record)

3.ขั้นตอนการเตรียมข้อมูลมีอะไรบ้าง
ตอบ   -  การรอบรวมข้อมูล
           - การกำหนดรหัส
           - การจัดกลุ่ม
           - การตรวจสอบ
           -  การนำเข้าจข้อมูล

ตอนที่3

1. System Analyst
ตอบ   นักวิเคราะห์ระบบ คือ มีหน้าที่วิเคราะห์ระบบ ออกแบบ และนำระบบสารสนเทศบนคอมพิวเตอร์เป็นพื้นฐานมาใช้งาน
2. MIS  
ตอบ  คือ บุคลากร มีหน้าที่เกี่ยวกับตำแหน่ง บทบาทและความรับผิดชอบ  มีการติดต่อโดยตรงกับผู้บริหารและผู้ใช้ประกอบด้วย
-ผู้บริหารปฎิบัติการคอมพิวเตอร์
-พนักงานปฎิบัติการคอมพิวเตอร์
-พนักงานป้อนข้อมูล
-บรรณารักษ์ระบบ
3.DSS
ตอบ  ระบบสนับสนุนกาารตัดสินใจ
4.EIS
ตอบ  ระบบสารสนเทศเพื่อผู้บริหารระดับสูง
5.ES
ตอบ  ระบบผู้เชี่ยวชาญ เป็นส่วนหนึ่งในการค้นคว้า ปํญญาประดิษฐ์ซึ่งทำการศึกษาเกี่ยวกับความสามารถของคอมพิวเตอร์ในด้านการหาเหตุและผล
6.Knowledge Base
ตอบ   ฐานความรุ้ คือการเก็บความรู้เกี่ยวกับเรื่องต่างในรูปแบบแตกต่างกัน เช่น กฎระเบียบ และข้อเท็จจริง
7.User interface
ตอบ  ส่วนต่อประสานกับผู้ใช้คือ เครื่องหมายหรือสัญลักษณ์บนจอภาพแสดงถึงความพร้อมที่จะรับคำสั่ง
8.Interence Engine
ตอบ  เครื่องอนุมาน คือ ระบบของโปรแกรมที่ใช้ในการสร้างระบบของผู้เชี่ยวชาญ อนุมานอาจมีลักษณะวินิจฉัยไปข้างหน้า หรือย้อนหลังก็ได้
9.Data Structured
ตอบ    (โครงสร้างข้อมูล) เป็นรูปแบบพิเศษสำหรับการจัดและเก็บข้อมูล ประเภทโครงสร้างข้อมูลทั่วไปรวมถึง array, ไฟล์, เรคคอร์ด, ตารางข้อมูล, tree และอื่นๆ 
10.Semi Structured
ตอบ  ข้อมุลความรู้จะเป็นลักษณะแบบกึ่งโครงสร้าง