วันศุกร์ที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2555

สุวิมล วุฒิยาสาร


นางสาวสุวิมล  วุฒิยาสาร
สาขา บัญชี ป .ว .ส1/3


บทที่  2  องค์ประกอบของระบบคอมพิวเตอร์

ตอนที่  1

1. ระบบคอมพิวเตอร์ประกอบด้วยส่วนที่สำคัญกี่ส่วน  อะไรบ้าง
ประกอบด้วย ส่วนคือ
   1. ฮาร์ดแวร์ (Hardware) คืออุปกรณ์ หรือชิ้นส่วนของเครื่องคอมพิวเตอร์ ที่มีวงจรไฟฟ้า อยู่ภายในเป็นส่วนใหญ่ สามารถจับต้องได้ เช่น กล่องซีพียู (Case) จอภาพ (Monitor) แป้นพิมพ์ (Keyboard) สแกนเนอร์(Scanner) เมนบอร์ด (Mainboard)ฮาร์ดดิสก์(Harddisk) เครื่องพิมพ์(Printer) เป็นต้น
   2. ซอฟต์แวร์ (Software) คือโปรแกรม หรือชุดคำสั่ง ที่สั่งควบคุมให้ฮาร์ดแวร์ และเครื่องคอมพิวเตอร์ทำงาน ตามที่ผู้ใช้ต้องการ ซอฟต์แวร์จะถูกบรรจุอยู่ในสื่อ หรือวัสุดที่ใช้ในการเก็บข้อมูล เช่น ฟอบปี้ดิสก์ ฮาร์ดดิสก์ ซีดีรอม เทปไดร์ฟ และ ดีวีดีรอม เป็นต้น และ  
   3.  พีเพิลแวร์ (Peopleware) คือ บุคคลที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการทำงาน ของเครื่องคอมพิวเตอร์ เช่นนักวิเคราะห์ระบบ (System Analysis) ผู้เขียน โปรแกรม (Programmer) ผู้ใช้โปรแกรม (User)โดยสรุปก็คือ บุคคลใดก็ตาม ที่มีหน้าที่เกี่ยวข้องกับเครื่องคอมพิวเตอร์ จะถือว่าเป็นพีเพิลแวร์ทั้งสิ้น


4. หน่วยประมวลผลกลางทำหน้าที่อย่างไร
   ทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของ PLC โดยทั่วไปแล้วจะใช้ไมโครโปรเซสเซอร์ชนิด บิทเป็นตัวประเมินผล ปกติหน้าที่ของหน่วยประมวลผลกลางคือรับข้อมูลอินพุทเข้ามาประมวลผลร่วมกับคำสั่ง แล้วส่งผลที่ได้ออกไปยังเอาท์พุท จากนั้นจะวนกลับไปรับข้อมูลอินพุทเข้ามาอีก แล้วทำซ้ำลักษณะนี้ไปเรื่อยๆ ซึ่งเรียกกันว่าการสแกน (Scan) การทำงานของหน่วยประมวลผลกลางจะอยู่ภายใต้การควบคุมของโปรแกรมคำสั่งที่ผู้ใช้ป้อนเข้า


9. ROM ต่างจาก  RAM อย่างไร มีกี่ชนิด  ชนิดใดนำไปใช้กับระบบ  POS
      เริ่มจาก RAMซึ่ง เป็นหน่วยความจำหลักที่จำเป็น สามารถเก็บข้อมูลได้เฉพาะเวลาที่มีกระแสไฟฟ้าหล่อเลี้ยงเท่านั้น หากไม่มีกระแสไฟฟ้ามาเลี้ยงข้อมูลที่เก็บไว้จะหายไปทันทีแต่ROM เป็นหน่วยความจำถาวร ที่เก็บข้อมูลไว้ในคอมพิวเตอร์ได้แม้ว่าจะไม่มีประจุไฟฟ้ามาหล่อเลี้ยงก็ตาม จุดประสงค์หลักๆของรอมคือการเก็บข้อมูลสำคัญๆไว้ เพื่อป้องกันการถูกเล่นงานจากไวรัส
    ชนิดของ RAM
       1. Static RAM (SRAM)นิยมนำไปใช้เป็นหน่วยแครช (Cache)ภายในตัวซีพียู เพราะมีีความเร็วในการทำงานสูงกว่าDRAM มาก แต่ไม่สามารถทำให้มีขนาดความจุสูงๆได้ เนื่องจากกินกระแสไฟมากจนทำให้เกิดความร้อนสูง
        2. Dynamic RAM(DRAM) นิยม นำไปใช้ทำเป็นหน่วยความจำหลักของระบบในรูปแบบของชิปไอซี (Integrated Circuit) บนแผงโมดุลของหน่วยความจำ RAM หลากหลายชนิด เช่น SDRAM,DDR SDRAM,DDR-II และRDRAM เป็นต้น โดยออกแบบให้มีขนาดความจุสูงๆได้ กินไฟน้อย และไม่เกิดความร้อนสูง
    ชนิดของ ROM
       1. PROM (Programable ROM) เป็น ROM ที่สามารถprogram ได้เพียงครั้งเดียวเท่านั้น ไม่สามารถลบข้อมูลได้ครับ ต่อมาจึงมีการพัฒนา ROM อีกประเภทหนึ่งที่สามารถช่วยให้ลบข้อมูลได้ ซึ่งก็คือ
       2. EPROM (Erasable PROM) โดยมันจะทำการลบข้อมูลโดยใช้รังสี Ultraviolet ที่มีความแรง (แสงอาทิตย์ไม่เพียงพอที่จะลบข้อมูลได้ เพียงแต่เราควรป้องกันไม่ให้ EPROM โดนแสงแดดเพราะอาจจะทำให้ข้อมูลบางอย่างหายไปได้ ถึงแม้ว่าแสงอาทิตย์จะมีultraviolet ที่ไม่แรงก็ตาม) การลบข้อมูลของมันอาจจะนำไปใส่กล่องหรืออุปกรณ์ที่มีรังสี  ultraviolet ที่มีความแรงสูงครับ แต่ในวิธีการลบข้อมูลของ EPROM ค่อนข้างจะยุ่งยาก เนื่องจากจะต้องนำ ROMออกมาเพื่อไปล้างข้อมูลในกล่องหรืออุปกรณ์บางอย่าง จึงทำให้เขาพัฒนาอีกประเภทหนึ่งขึ้นมาคือ
       3. EEPROM (Electrically Erasable PROM) ซึ่งช่วยให้เราสามารถใช้กระแสไฟฟ้าในการลบข้อมูลได้แทนการใช้รังสี ultravioletครับ แต่รู้สึกว่า ROM ประเภทนี้จะมีราคาค่อนข้างแพงเนื่องจากมันจะทำการลบเป็นทีละ bit ดังนั้นเขาจึงพัฒนา technology ใหม่ขึ้นมาที่ชื่อว่า FLASH Technology
       ชนิดที่ใช้กับระบบ POS คือ EEPROM

    ตอนที่  3
    
1. ซอฟแวร์คืออะไร  แบ่งออกเป็นกี่ประเภท  อะไรบ้าง  จงอธิบาย 
        ซอฟต์แวร์ หมายถึงชุดคำสั่งหรือโปรแกรมที่ใช้สั่งงานให้คอมพิวเตอร์ทำงาน ซอฟต์แวร์จึงหมายถึงลำดับขั้นตอนการทำงานที่เขียนขึ้นด้วยคำสั่งของคอมพิวเตอร์ คำสั่งเหล่านี้เรียงกันเป็นโปรแกรมคอมพิวเตอร์ จากที่ทราบมาแล้วว่าคอมพิวเตอร์ทำงานตามคำสั่ง การทำงานพื้นฐานเป็นเพียงการกระทำกับข้อมูลที่เป็นตัวเลขฐานสอง ซึ่งใช้แทนข้อมูลที่เป็นตัวเลข ตัวอักษร รูปภาพ หรือแม้แต่เป็นเสียงพูดก็ได้
ซอฟต์แวร์ (software) แบ่งออกเป็น  2  ประเภท คือ
      1)ซอฟต์แวร์ระบบ ( System Software)  คือซอฟต์แวร์ที่บริษัทผู้ผลิตสร้างขึ้นมาเพื่อใช้จัดการกับระบบ หน้าที่การทำงานของซอฟต์แวร์ระบบคือดำเนินงานพื้นฐานต่าง ๆ ของระบบคอมพิวเตอร์ เช่น รับข้อมูลจากแผงแป้นอักขระแล้วแปลความหมายให้คอมพิวเตอร์เข้าใจ นำข้อมูลไปแสดงผลบนจอภาพหรือนำออกไปยังเครื่องพิมพ์ จัดการข้อมูลในระบบแฟ้มข้อมูลบนหน่วยความจำรอง เมื่อเราเปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ ทันทีที่มีการจ่ายกระแสไฟฟ้าให้กับคอมพิวเตอร์ คอมพิวเตอร์จะทำงานตามโปรแกรมทันที โปรแกรมแรกที่สั่งคอมพิวเตอร์ทำงานนี้เป็นซอฟต์แวร์ระบบ ซอฟต์แวร์ระบบอาจเก็บไว้ในรอม หรือในแผ่นจานแม่เหล็ก หากไม่มีซอฟต์แวร์ระบบ คอมพิวเตอร์จะทำงานไม่ได้ ซอฟต์แวร์ระบบยังใช้เป็นเครื่องมือในการพัฒนาซอฟต์แวร์อื่น ๆ และยังรวมไปถึงซอฟต์แวร์ที่ใช้ในการแปลภาษาต่าง ๆ
     2) ซอฟต์แวร์ประยุกต์( Application Software)   เป็นซอฟต์แวร์ที่ใช้กับงานด้านต่าง ๆ ตามความต้องการของผู้ใช้ ที่สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้โดยตรง ปัจจุบันมีผู้พัฒนาซอฟต์แวร์ใช้งานทางด้านต่าง ๆ ออกจำหน่ายมาก การประยุกต์งานคอมพิวเตอร์จึงกว้างขวางและแพร่หลาย เราอาจแบ่งซอฟต์แวร์ประยุกต์ออกเป็นสองกลุ่มคือ ซอฟต์แวร์สำเร็จ และซอฟต์แวร์ที่พัฒนาขึ้นใช้งานเฉพาะ ซอฟต์แวร์สำเร็จในปัจจุบันมีมากมาย เช่น ซอฟต์แวร์ประมวลคำ ซอฟต์แวร์ตารางทำงาน ฯลฯ 


3. โปรแกรมประเภทฟรีแวร์ (Freeware)  แชร์แวร์ (Shareware)  เฟิร์มแวร์ (Firmware) เป็นอย่างไร  จงอธิบาย
                ฟรีแวร์ (Freeware)  หมายถึงโปรแกรมที่มีผู้สร้างขึ้นเพื่อแจกจ่ายให้แก่สาธารณชนใช้ โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตสามารถดาวน์โหลดโปรแกรมฟรีแวร์ไปใช้เองและถ่ายโอนให้แก่ผู้อื่นต่อๆ ไปได้ โดยมีข้อแม้ว่าจะต้องไม่นำไปขายหรือหารายได้จากโปรแกรมนั้น โปรแกรมฟรีแวร์มีหลายประเภท ทั้งโปรแกรมระบบ เช่น Linux , โปรแกรมเกมส์และข้อมูลด้านการศึกษาต่างๆ เป็นต้น 
                แชร์แวร์ (shareware)  หมายถึงโปรแกรมที่มีผู้สร้างขึ้น ตั้งใจจะขาย แต่ยอมให้ผู้สนใจนำไปทดลองใช้ดูก่อน โดยไม่ต้องจ่ายค่าลิขสิทธิ์ เมื่อใช้แล้วพอใจและต้องการนำไปใช้งานจริงจัง จะต้องจ่ายเงินซื้อโปรแกรมภายหลังการทดลองใช้งานอาจมีข้อตกลง เช่น30 วัน , 45 วัน , 60 วัน เป็นต้น ถ้าพอใจก็ส่งเงินไปลงทะเบียน และรับโปรแกรมฉบับบสมบูรณ์เต็มรูปแบบได้ โปรแกรมแชร์แวร์ส่วนใหญ่จะมีราคาไม่แพง คุณภาพพอใช้ได้โปรแกรมบางอย่างใช้งานได้ดีกว่าโปรแกรมที่ขายราคาพงๆ ด้วยซ้ำ และบนอินเทอร์เน็ตนั้นมีแชร์แวร์จำนวนมากให้เราเลือกใช้ การจะดาวน์โหลดโปรแกรมมาใช้งานนั้น 
               เฟิร์มแวร์ (Firmware ) หมายถึง software ที่สามารถทำให้siemens ของคุณ update ลูกเล่นใหม่ๆ อยู่เสมอ เป็นการพัฒนาsoftware ของบริษัทผู้ผลิตเพื่อเพิ่มสมรรถนะการทำงานในโทรศัพท์มากขึ้น เพราะใน โทรศัพท์มือถือในสมัยนี้ software จะมีบทบาทเข้ามาสนับสนุนและทำให้โทรศัพท์มีขนาดเล็กลง โดยภายใน ตัวเครื่องจะใช้ Rom เป็นที่เก็บ ดังนั้นการ Up Grade Firmware เข้าไปในเครื่องก็จะทำให้เครื่องของเรา ได้ใช้งานอย่างมีประสิทธิภาพขึ้นเรื่อยๆ


บทที่  3  การประมวลผลข้อมูล (Data  Processing)

ตอนที่  1

2. ข้อมูลปฐมภูมิและข้อมูลทุติยภูมิต่างกันอย่างไร
   ข้อมูลปฐมภูมิคือข้อมูลดิบที่ยังไม่ผ่านกระบวนการกระทำใดๆข้อมูลทุติภูมิคือข้อมูลที่ผ่านการวิเคราะห์เรียบเรียงใหม่ให้มีความถูกต้องและเข้าใจง่ายขึ้นซึ่งจะต่างกันที่ข้อมูลปฐมภูมิ (primary data) เป็นข้อมูลที่มีการเก็บหรือรวบรวมก่อนครั้งแรก เพื่อนำไปประมวลผลให้เกิดเป็นข้อมูลทุติยภูมิ (secondary data)ในภายหลัง ซึ่งสามารถนำไปใช้ประโยชน์ต่ออีกได้


7. อธิบายความหมายของเขตข้อมูล (Field) 
    หมายถึง อักขระที่สัมพันธ์กันจำนวนตั้งแต่ 1 อักขระเป็นต้นไป มารวมกันแล้วเกิดความหมาย แสดงลักษณะอย่างใดอย่างหนึ่ง จากตารางที่    ข้อมูลในแถวที่ 1 มีค่า A- ประกอบด้วยตัวอักขระ 2 ตัวคือ A และ – มีความหมายว่า หมู่โลหิต A ชนิด Rh Negative เป็นต้น เขตข้อมูลบางครั้งเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า แอตทริบิวต์


10. ขั้นตอนการเตรียมข้อมูลมีอะไรบ้าง
  1.  การรวบรวมข้อมูล(data   collecting) เช่น การสัมภาษณ์  การสอบถาม  จดบันทึกด้วยอุปกรณ์ต่างๆ
  2. การกำหนดรหัส(coding) ใช้แทนข้อมูลสำหรับการประมวลผล   โดยใช้ตัวเลขหรือตัวอักษรเพื่อให้ข้อมูลอยู่ในรูปกะทัดรัด  ใช้งานง่าย  ประหยัดเวลา  และแรงงาน  เช่น  กำหนดเพศชาย  เป็น 1 เพศหญิงเป็น 2
   3. การจัดกลุ่ม(classifying) เช่น  จัดกลุ่มนักเรียนตามเพศ  จัดกลุ่มนักศึกษาตามชั้นปี    จำแนกตามลักษณะอาชีพ เป็นต้น
  4. การตรวจสอบ(editing) ก่อนนำข้อมูลไปประมวลผล  ต้องทำการตรวจสอบความถูกต้องก่อนข้อมูลที่ไม่ถูกต้องจะทำให้ผลลัพธ์ที่ได้จากการประมวลผลไม่ถูกต้อง


  ตอนที่  3

1. System Analyst
    หมายถึง บุคลากรในหน่วยงานคอมพิวเตอร์ ทำหน้าที่รับผิดชอบในการออกแบบ และสร้างระบบประมวลผลข้อมูล ตั้งแต่การเตรียมข้อมูล กำหนดโครงสร้างข้อมูล วิธีการประมวลผล โดยออกแบบเป็นผังลำดับการทำงานจนกระทั่งได้ผลตามต้องการ


2. MIS
    หมายถึงระบบที่ให้สารสนเทศที่ผู้บริหารต้องการ เพื่อให้สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยจะรวมทั้ง สารสนเทศภายในและภายนอก สารสนเทศที่เกี่ยวพันกับองค์กรทั้งในอดีตและปัจจุบัน รวมทั้งสิ่งที่คาดว่าจะเป็นในอนาคต นอกจากนี้ระบบเอ็มไอเอสจะต้อง ให้สารสนเทศ ในช่วงเวลาที่เป็นประโยชน์ เพื่อให้ผู้บริหารสามารถตัดสินใจในการวางแผนการควบคุม และการปฏิบัติการขององค์กรได้อย่างถูกต้อง

3. DSS
    หมายถึงระบบสนับสนุนการตัดสินใจ (Decision Support System :DSS) เป็นซอฟแวร์ที่ช่วยในการตัดสินใจเกี่ยวกับการจัดการ การรวบรวมข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูล และการสร้างตัวแบบที่ซับซ้อน ภายใต้ซอฟต์แวร์เดียวกัน นอกจากนั้น DSS ยังเป็นการประสานการทำงานระหว่างบุคลากรกับเทคโนโลยีทางด้านซอฟต์แวร์ โดยเป็นการกระทำโต้ตอบกัน เพื่อแก้ปัญหาแบบไม่มีโครงสร้าง และอยู่ภายใต้การควบคุมของผู้ใช้ตั้งแต่เริ่มต้นถึงสิ้นสุดขั้นตอนหรืออาจกล่าวได้ว่า DSSเป็นระบบที่โต้ตอบกันโดยใช้คอมพิวเตอร์ เพื่อหาคำตอบที่ง่าย สะดวก รวดเร็วจากปัญหาที่ไม่มีโครงสร้างที่แน่นอน


4. EIS
    หมายถึงการนำสารสนเทศหรือข้อมูลต่าง ๆ มาเก็บไว้ในรูปแบบที่ผู้บริหารมักจะต้องการใช้ และสามารถจะเรียกมาดู หรือใช้ได้สะดวก
5. ES
    หมายถึงระบบผู้เชี่ยวชาญ (Expert Systems-ES ทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษาแก้ผู้ใช้ในการให้คำแนะนำที่ต้องอาศัยความเชี่ยวชาญ ในบางสาขา ES เป็นโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่เก็บข้อมูลและกฎเกณฑ์ของความรู้ ซึ่งรวบรวมมาจากสาขาวิชาที่ต้องการความเชี่ยวชาญไว้ในฐานความรู้

6.Knowledge Base
   หมายถึงการเป็นศูนย์กลางของระบบผู้เชี่ยวชาญที่ใช้กฎเป็นพื้นฐาน ประกอบด้วย  ข้อเท็จจริง(facts) ที่จำเพาะเจาะจงเกี่ยวกับความชำนาญแต่ละด้านและกฎเกณฑ์ต่าง ๆ ที่ระบบผู้เชี่ยวชาญใช้ในการตัดสินใจ
7. User Interface
    หมายถึงส่วนต่อประสานกับผู้ใช้ คือ เครื่องหมายหรือสัญลักษณ์ ฯ ที่ทำหน้าที่เชื่อมประสานระหว่างผู้ใช้คอมพิวเตอร์กับตัวเครื่องในระบบก็มีสัญลักษณ์ (prompt) ตัวชี้ตำแหน่ง (cursor) ถ้าเป็นระบบวินโดว์ ก็หมายถึง สัญรูป (icon) ถ้าเป็นฮาร์ดแวร์ ก็หมายถึง จอภาพ และเมาส์ (mouse)

8. Inference Engine
    หมายถึงเครื่องอนุมาน คือ  ระบบของโปรแกรมที่ใช้ในการสร้างระบบผู้เชี่ยวชาญ  เครื่องอนุมานจะประยุกต์ใช้ข้อเท็จจริง  กฎต่างๆในฐานความรู้และข้อสนเทศที่ได้เก็บไว้แล้ว  กับข้อมูลที่เกี่ยวกับปัญหาที่ได้มาจากผู้ใช้  การทำงานของกลไกอนุมานมีลักษณะเป็นการวินิจฉัยไปข้างหน้าหรือการวินิจฉัยแบบย้อนหลังก็ได้
9. Data Structured
    หมายถึง รูปแบบของการจัดระเบียบของข้อมูล ซึ่งมีอยู่หลายรูปแบบ ศัพท์ต่าง ๆ ในเรื่องของโครง สร้างของข้อมูลที่คุ้นหู มีอยู่หลายคำ เช่น เขตข้อมูล (field), แถวลำดับ (array), ระเบียน (record), ต้นไม้ (tree),รายการโยง (linked list) เป็นต้น
10. Semi Structured
      หมายถึงการตัดสินใจแบบที่บางส่วนของปัญหาเป็นงานประจำและสามารถแก้ไขได้ด้วยวิธีการและขั้นตอนแน่นอน  โดยบางส่วนของปัญหาอาจต้องอาศัยสัญชาติญาณและความสามารถในการตัดสินใจ เช่น การเลือกสินค้าที่จะผลิตและจำหน่าย  ซึ่งสามารถจะคำนวณต้นทุนวัตถุดิบ  กำลังการผลิต  ความยากง่ายในการจัดหาวัตถุดิบได้แน่นอนด้วยวิธีการและขั้นตอนชัดเจน  แต่อาจมีบางปัจจัยที่ไม่สามารถคาดการณ์ล่วงหน้าและควบคุมได้แน่นอน  เช่น  สภาพแวดล้อมภายนอก  ปัจจัยทางเศรษฐกิจ  สังคม การเมือง  สภาวะของคู่แข่ง  และการพยากรณ์ความต้องการของลูกค้า ปัจจัยเหล่านี้ส่วนใหญ่เป็นหน้าที่ของผู้บริหารระดับสูง  ที่อาจต้องใช้วิจารณญาณ และประสบการณ์เข้าช่วย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น